Sunday, December 7, 2014

Individual Design Project

โครงการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ 
เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม 
เพื่อเป็นสินค้าคู่แข่งกับกลุ่มแม่บ้านท่าทราย จังหวัดชัยนาท

ยี่ห้อ Natcha Natural
(นัทชา เนเจอร์รอล)





Friday, December 5, 2014

การนำเสนอผลงานออกแบบโครงการกลุ่ม การออกแบบพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์แชมพูสมุนไพร ลูกประคำดีควาย

วิชาการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ARTD3302 กลุ่ม 201 
ประจำวันที่ 19 ตุลาคม 2557 อาจารย์ผู้สอน ผศ. ประชิด ทิณบุตร

การนำเสนอผลงานออกแบบโครงการกลุ่ม
การออกแบบพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์แชมพูสมุนไพร ลูกประคำดีควาย
ของกลุ่มแม่บ้านท่าทราย อ.สรรพยา จ.ชัยนาท

ภาพ mood board สำหรับนำเสนอการออกแบบพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์ 
แชมพูสมุนไพร ลูกประคำดีควาย  ที่มา: ณัฐชา เปื้นมั่นคง, 2557. 
ภาพการออกแบบบรรจุภัณฑ์แชมพูสมุนไพร ลูกประคำดีควาย 
    ที่มา: ณัฐชา เปื้นมั่นคง, 2557. 
ภาพการออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์แชมพูสมุนไพร ลูกประคำดีควาย 
    ที่มา: ณัฐชา เปื้นมั่นคง, 2557. 

ภาพการออกแบบฉลากสำหรับติดที่บรรจุภัณฑ์แชมพูสมุนไพร ลูกประคำดีควาย 
    ที่มา: ณัฐชา เปื้นมั่นคง, 2557. 
ภาพการนำเสนอการออกแบบพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์ แชมพูสมุนไพร ลูกประคำดีควาย
    ที่มา: ณัฐชา เปื้นมั่นคง, 2557. 

ภาพการนำเสนอการออกแบบพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์ แชมพูสมุนไพร ลูกประคำดีควาย
    ที่มา: ผศ.ประชิด ทิณบุตร, 2557. 

ภาพการนำเสนอการออกแบบพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์ กลุ่ม Dimension
    ที่มา: ผศ.ประชิด ทิณบุตร, 2557. 



การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 7

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 7 ของวิชาการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ARTD3302กลุ่ม 201 ประจำวันที่ 5 ตุลาคม 2557 อาจารย์ผู้สอน ผศ. ประชิด ทิณบุตร

อาจารย์ผู้สอนได้อธิบายถึงการใช้โปรแกรม SketchUp เบื้องต้น โดยให้เริ่มจากการสร้างตัวผลิตภัณฑ์ขึ้นมาก่อน (ขึ้นรูปตัวผลิตภัณฑ์) แล้วจึงขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์เป็นผนังหุ้มตัวผลิตภัณฑ์ไว้อีกที


* สัปดาห์หน้าไม่มีการเรียนการสอน (เตรียมสอบ)

สอบ mid-term วันที่ 19 ต.ค. 2557 มีรายละเอียดดังนี้
1. ใส่ไฟล์งาน .AI ลงใน Google Drive ให้เรียบร้อย
2. ทำ artwork ตามตัวอย่างที่อาจารย์ได้แชร์ไว้ให้
3. เส้น di-cut, เส้นตัด-พับ ให้แยก layer ให้เรียบร้อย
4. ใส่ Dimension + ระบุกระดาษ

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 6

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 6 ของวิชาการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ARTD3302 กลุ่ม 201 ประจำวันที่ 28 กันยายน 2557 อาจารย์ผู้สอน ผศ. ประชิด ทิณบุตร

อาจารยได้อธิบายเกี่ยวกับการนำเสนอผลงานในรูปแบบงานกลุ่ม โดยได้ยกตัวอย่างบล็อกของกลุ่ม Dimension ที่สร้างให้กับผู้ประกอบการ "กลุ่มแม่บ้านท่าทราย" หรือเข้าไปที่ http://baanthasai.blogspot.com/ 
มีข้อเสนอแนะดังนี้
1. ใส่ข้อมูลผลิตภัณฑ์ของแต่ละคนในบล๊อกกลุ่ม
2. การใส่ผลงานของแต่ละคน โดยการสร้าง Tab ส่วนตัวของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด
3. ควรใส่ข้อมูลผู้ประกอบการให้ครบถ้วน
4. ส่งคำเชิญให้อาจารย์เป็นผู้เขียนร่วม (admin)

ภาพแสดงหน้าเว็บบล็อกที่สร้างขึ้นเพื่อกลุ่มแม่บ้านท่าทราย จ.ชัยนาท
    ที่มา: ณัฐชา เปิ้นมั่นคง, 2557.

และอาจารย์ผู้สอนก็ได้แนะนำเว็บไซต์ packmage ที่สามารถขึ้นแบบกล่องบรรจุภัณฑ์ให้ออกมาในรูปแบบ 3 มิติได้ง่ายๆ สะดวก และรวดเร็ว

ภาพแสดงหน้าเว็บไซต์ Packmage
    ที่มา: ณัฐชา เปิ้นมั่นคง, 2557.


* สอบ mid-term test วันที่ 19 ต.ค, 2557

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 5

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 5 ของวิชาการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ARTD3302 กลุ่ม 201 ประจำวันที่ 21 กันยายน 2557 อาจารย์ผู้สอน ผศ. ประชิด ทิณบุตร

การเรียนการสอนในสัปดาห์ที่ 5 ฟังเพื่อนนำเสนอข่าวสาร 3 คนก่อนที่จะเข้าสู่การเรียนการสอน
และก่อนที่จะเรียกตรวจงานรายบุคคล อาจารย์ได้อธิบายเพื่มเติมเกี่ยวกับ Visual Analysis และ SWOT ว่าคืออะไร และวิเคราะห์อย่างไร โดยการทำ SWOT นั้นให้วิเคราะห์จาก Visual Analysis โดยแบ่งเป็น 2 ประเด็นคือ โครงสร้าง และ กราฟิก 
วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค ของผลิตภัณฑ์ที่ได้เลือกมา


ภาพการวิเคราะห์สินค้าบ้านท่าทรายด้วย SWOT Analysis
ที่มา: ณัฐชา เปิ้นมั่นคง, 2557.

และสอนเกี่ยวกับการใช้คำสั่งใน AI สำหรับสร้างเส้นขนานออกไปจากตัววัตถุเพื่อสร้างเส้นสำหรับไดคัท 
รวมถึงการแนะนำให้แยก layer ในการทำงานต่างๆ เพื่อความสะดวกและเป็นระเบียบในการส่งพิมพ์​ และช่วยลดการเกิดปัญหาต่างๆ ในงานของเราได้

ตรวจงานรายบุคคลท้ายคาบ
นำกล่องที่ได้ออกแบบเป็นการบ้านเมื่อสัปดาห์ที่แล้วให้อาจารย์ดู

    ภาพการออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์แชมพูสมุนไพร ลูกประคำดีควาย แบบที่ 1 
    ที่มา: ณัฐชา เปื้นมั่นคง, 2557. 

    ภาพการออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์แชมพูสมุนไพร ลูกประคำดีควาย แบบที่ 2 
    ที่มา: ณัฐชา เปื้นมั่นคง, 2557. 

ได้รับคำแนะนำให้กลับมาแก้ไขดังนี้ คือ
1. กล่องหลวม ขนาดไม่พอดีกับผลิตภัณฑ์
2. ภาพประกอบยังไม่ชัดเจน อ. แนะนำว่า ถ้าหาภาพประกอบไม่ได้ให้ลองใช้ภาพกราฟิกแสดงวิธีใช้
3. ใช้คู่สี ok แล้ว
4. ด้านหน้ากล่องไม่ต้องเจาะ จะเจาะก็ต่อเมื่อบรรจุภัณฑ์เป็นแบบใส สามารถมองเห็นตัวผลิตภัณฑ์ด้านใน